การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
1. ทำความเข้าใจบริบทขององค์กร (Understand the Organization’s Context)
บริษัททบทวนบริบทขององค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงทางธุรกิจ บริบทด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก รวมถึงความต้องการ ความคาดหวัง และความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ควบคู่ไปกับการศึกษาแนวโน้มโลก และทิศทางของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน มาพิจารณาเพื่อกำหนดประเด็นความยั่งยืน โดยแบ่งกลุ่มประเด็นออกเป็น 3 ด้าน คือ
3 ด้าน
ด้านแศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ด้านสังคม
ด้านสิ่งแวดล้อม
2. ระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่อาจจะเกิดขึ้น (Identify Actual and Potential Impacts)
ระบุผลกระทบของประเด็นความยั่งยืน ทั้งผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริง และที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมในทุกกิจกรรมการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
3. ประเมินความสำคัญของผลกระทบ (Assess the Significant of the Impacts)
ประเมินความสำคัญของผลกระทบและจัดลำดับความสำคัญ โดยการให้คะแนนตามเกณฑ์ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Severity) และโอกาสในการเกิด (Likelihood) โดยรวมถึง ขนาด ขอบเขต และ ศักยภาพในการตอบสนองต่อประเด็น เพื่อบรรเทาและลดผลกระทบ ทั้งในมิติของผลกระทบที่มีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ
4. จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบที่มีนัยสำคัญสำหรับการรายงาน (Prioritize the Most Significate Impacts for Reporting)
จัดลำดับความสำคัญตามระดับความสำคัญของผลกระทบ และนำเสนอเพื่อพิจารณาทวนสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของประเด็นที่มีนัยสำคัญ โดยคณะทำงานเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน และนำประเด็นที่ผ่านการทวนสอบ เสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติและยืนยันประเด็น พร้อมจัดทำแผนดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมถึงแผนการบริหารความเสี่ยงองค์กร ที่ผ่านการเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูง โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธานในการลงมติเห็นชอบ เพื่อดำเนินการตอบสนองต่อความคาดหวังผู้มีส่วนได้เสีย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตารางการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
บริษัททบทวนและประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2567 พบว่าประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนมีทั้งหมด 13 ประเด็น แบ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญสูงมาก 4 ประเด็น ประเด็นที่มีความสำคัญสูง 4 ประเด็น ประเด็นที่มีความสำคัญปานกลาง 2 ประเด็น และประเด็นที่มีความสำคัญต่ำ 3 ประเด็น ดังนี้
We care Business
We care People
We care Social
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
สำคัญสูงมาก (VH)
- 3 การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
- 8 การดึงดูดและรักษาพนักงาน
- 9 ความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ
- 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำคัญสูง (H)
- 2 การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- 4 การพัฒนานวัตกรรม
- 5 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
- 7 การพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม
สำคัญปานกลาง (M)
- 1 การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- 10 การสร้างคุณค่าให้กับสังคม
สำคัญต่ำ (L)
- 6 การบริหารแรงงานและสิทธิมนุษยชน
- 11 การบริหารจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต
- 12 ความหลากหลายทางชีวภาพ