การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
บริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านพลังงานทดแทน อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้าแบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี บริษัทตระหนักดีว่า ผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ มีความสำคัญในการร่วมสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะยาว บริษัทจึงวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าจากกิจกรรมในการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญอันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ความคาดหวังและกำหนดแนวทางในการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญของบริษัทฯ มี 8 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน คู่ค้าธุรกิจ (ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ เจ้าหนี้ทางการค้า) ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ พันธมิตรทางธุรกิจ และ ชุมชนและสังคม
ปัจจัยนำเข้า
ผลลัพธ์
เพื่อธุรกิจที่เติบโต
รายได้จากการขาย
รายได้จากการขายไฟฟ้า
รายได้จากการก่อสร้าง
รายได้จากการให้บริการ
รายได้รวม
กำไรสุทธิ
กำไรสุทธิต่อหุ้น
การจ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงานในปี 2567
การจ่ายภาษีเงินได้
เพื่อสังคมที่น่าอยู่
ความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
อัตราการลาออกของพนักงาน
พนักงานที่ได้รับการปรับเลื่อนตำแหน่ง
อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน
อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานของผู้รับเหมา
ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบริการ
ความพึงพอใจของชุมชนต่อการดำเนินงานของบริษัท
พัฒนาโครงการ Smart City เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีบน
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (ขอบเขตที่ 1 และ 2)
มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
Renewable Energy Certificates ที่ผลิตได้
ปริมาณของเสียที่จัดการตามหลัก 3Rs
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนในองค์กร
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
ความคาดหวัง
- สวัสดิการและค่าตอบแทนที่ดี สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
- สวัสดิการแบบองค์รวมดูแลทั้งสุขภาพกาย และจิตใจ เพื่อสร้างความสมดุลของชีวิตและการทำงาน
- โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการทำงาน รวมถึงทักษะใหม่ ๆ เพื่อโอกาสในการเติบโตในสายอาชีพ
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีความปลอดภัย
- องค์กรประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การส่งเสริมการเรียนรู้ที่ทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับกลุ่มหรือ มีปฏิสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น (social learning)
- ความโปร่งใสและการสื่อสารที่ดี รับฟังการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และเข้าใจความต้องการของพนักงาน
- วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากองค์กรต่อพนักงานทุกระดับ
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ร้อยละความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00
- อัตราการลาออกของพนักงานน้อยกว่าหรือเท่ากับปีก่อนหน้า
- ชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
- พนักงานมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในหน้าที่การงาน
- อัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเป็นศูนย์
ช่องทางการสื่อสาร :
- แบบสำรวจความต้องการของพนักงานเพื่อจัดเตรียมหลักสูตรที่เหมาะสมให้แก่พนักงานและสอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ
- แบบสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร
- การจัดปฐมนิเทศพนักงาน
- การจัดกิจกรรมสร้างความผูกพันกับพนักงาน
- กิจกรรมผู้บริหารพบพนักงาน
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมผ่านสื่อประชาสัมพันธ์
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- สำรวจการจ่ายผลตอบแทนของตลาดประจำทุกปี เพื่อประเมินและจัดทำนโยบายในการให้ค่าตอบแทน ผลประโยชน์ และสวัสดิการที่เหมาะสม และยืดหยุ่น
- พัฒนาระบบการสรรหา และกระบวนการคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพ (Talent Management) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โปร่งใส ยุติธรรม
- พัฒนาระบบหรือมาตรฐานในการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถตรงตามที่บริษัท คาดหวัง เพื่อพัฒนากำลังคนให้ทันกับการเติบโตขององค์กร
- จัดหา/จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับพนักงานใน สายงาน และในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่องให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
- สร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการร่วมมือกันในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการพัฒนาทักษะที่มีความหลากหลาย
- จัดสถานที่ทำงาน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย เหมาะสม และเพียงพอ
- พัฒนาเครื่องมือหรือระบบภายในเพื่อให้ตรงกับความต้องการเฉพาะขององค์กร
- สำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรประจำทุกปี
- สร้างช่องทางการสื่อสาร และช่องทางการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายและเข้าถึงได้
- สร้างวัฒนธรรมการยอมรับในความหลากหลาย และส่งเสริมการดำเนินงานด้วย ความเคารพในสิทธิมนุษยชน
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ร้อยละความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรร้อยละ 74.00
- อัตราการลาออกของพนักงาน 2.04 ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.46
- ชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย 13.28 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
- จำนวนพนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง 44 คน
- อัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน (LTIR) ของพนักงาน 0.74 ของผู้รับเหมา 1.85
ความคาดหวัง
- การจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้
- การรับทราบแนวทางหรือนโยบายต่างๆที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
- การดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคู่ค้าธุรกิจเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- การรับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากคู่ค้าธุรกิจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน
- การปกป้องข้อมูลที่ได้รับจากคู่ค้าธุรกิจโดยไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก
- การร่วมพัฒนา และยกระดับการจัดซื้อจัดจ้างแบบยั่งยืน
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย :
- คะแนนและผลการประเมินผลงานหรือการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคู่ค้าธุรกิจอยู่ในระดับดีมาก
- ร้อยละ 100 คู่ค้าหลักได้รับการสื่อสารเรื่องจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct)
- ร้อยละ 100 คู่ค้าหลักได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG)
ช่องทางการสื่อสาร :
- การประเมินคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจ
- การประเมินความเสี่ยงคู่ค้าธุรกิจ
- การประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้าธุรกิจ
- การประชุมหรือสัมมนาทางธุรกิจ
- ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น รวมไปถึงข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- จัดทำจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) และสื่อสารและเผยแพร่ให้แก่คู่ค้าธุรกิจทราบผ่านช่องทางต่างๆ
- กำหนดเกณฑ์ในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจโดยพิจารณาจากปัจจัยด้าน ความยั่งยืน
- ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และแนวทางการสร้างความร่วมมือ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
- ประเมินคู่ค้าธุรกิจรายสำคัญและประเมินความเสี่ยงคู่ค้าธุรกิจเป็นประจำทุกปี เพื่อนำไปจัดทำแผน พัฒนาคู่ค้าธุรกิจ
- ควบคุมและมีระบบตรวจสอบภายในเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจปฏิบัติตามข้อบังคับและ ข้อผูกพันที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา
- เยี่ยมเยียนคู่ค้าธุรกิจเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินความพึงพอใจและรับฟังข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
- ปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ข้อมูลของคู่ค้าธุรกิจได้รับการปกป้องและรักษาความลับ
- สนับสนุนการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจ
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- คะแนนและผลการประเมินผลงานหรือการประเมินประสิทธิภาพ การทำงานของคู่ค้าธุรกิจอยู่ใน ระดับดีมาก
- ร้อยละ 100 คู่ค้าหลักที่ได้รับการสื่อสารเรื่องจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ
- ร้อยละ 100 คู่ค้าหลักได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG)
ความคาดหวัง
- สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย และตรงตามมาตรฐาน
- ส่งมอบสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วภายใต้เงื่อนไข หรือข้อตกลงอย่างครบถ้วน
- สินค้าและบริการมีราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
- สนับสนุนและบริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองอย่างรวดเร็วและช่วยเหลือคู่ค้าธุรกิจในทุกสถานการณ์อย่างครบถ้วน
- นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยีหรือกระบวนการที่ทันสมัยเพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาด
- ปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หรือข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ร้อยละความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์และการบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.00
ช่องทางการสื่อสาร :
- ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น รวมไปถึงข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ
- แบบประเมินความพึงพอใจลูกค้า
- การเยี่ยมชม การประชุม การอบรม/สัมมนา
- การสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ตรวจสอบและควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าและการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- นำเสนอสินค้า หรือบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส
- วางแผนการจัดส่งสินค้าและกำหนดเวลาจัดส่งที่ชัดเจน สามารถให้ข้อมูลตั้งแต่วัตถุดิบต้นทางจนถึงมือลูกค้า
- พัฒนาระบบการประกันคุณภาพตลอดทั้งกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า
- กำหนดราคาสินค้าและบริการอย่างยุติธรรม พร้อมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าด้วยความโปร่งใส
- ฝึกอบรมพนักงานเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน
- ประเมินความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อวัดผลและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
- พัฒนานวัตกรรม Renewable energy หรือ Clean technologyในการผลิตสินค้าและบริการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาสังคมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เชื่อมโยงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กับกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
- กำหนดมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ที่เหมาะสมในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์และการบริการ ร้อยละ 89.21
ความคาดหวัง
- การแข่งขันอย่างด้วยความโปร่งใส สุจริต เป็นธรรม
- การเคารพและปฏิบัติตามสิทธิในลิขสิทธิ์และทรัพย์สิน ทางปัญญา
- การรักษาความลับของธุรกิจปกป้องข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์และอ่อนไหวต่อผู้ร่วมลงทุน
- การสร้างความร่วมมือเพื่อการเติบโตทางธุรกิจ
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา
ช่องทางการสื่อสาร :
- การสัมมนาทางธุรกิจ
- การประชุมพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือตามวาระต่างๆ
- เว็บไซต์
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ปฏิบัติด้วยความโปร่งใส รักษาจริยธรรมและความซื่อสัตย์ในการแข่งขันทางธุรกิจ
- กำหนดระดับสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล โดยการอนุญาตให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมี ความจำเป็นเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ
- สร้างความร่วมมือ และสร้างพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจเดียวกันเพื่อพัฒนาและขยาย สายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา
ความคาดหวัง
- การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
- ผลประกอบการที่ดี ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง มีผลกำไร
- ผลตอบแทน (การจ่ายเงินปันผล) ในระดับที่น่าพอใจ และสม่ำเสมอ
- การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
- การเคารพและดูแลรักษาสิทธิที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
- การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทตามข้อเท็จจริง ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทันต่อการตัดสินใจ
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ผลสำรวจการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.00
ช่องทางการสื่อสาร :
- การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
- การประกาศแผนธุรกิจและเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรม วันบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day)
- การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting)
- เว็บไซต์
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติตามแผนธุรกิจประจำปี
- สร้างผลประกอบการที่ยั่งยืนและสมดุล ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม
- สร้างความเชื่อมั่น และมอบผลตอบแทนสูงสุด อย่างเหมาะสม
- เปิดเผยผลการดำเนินธุรกิจและการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ครบถ้วนและ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น Opportunity Day เพื่อให้ผู้บริหารสื่อสารผลการดำเนินงานกับนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ผลสำรวจการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ ร้อยละ 85.30
ความคาดหวัง
- การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- การรายงานข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง โปร่งใส ต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักจริยธรรมทางธุรกิจ
- การต่อต้านการเรียกร้องผลประโยชน์ และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- การชำระภาษีและค่าธรรมเนียมครบถ้วนตามกำหนด
- ความร่วมมือและให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ไม่มีกรณีการละเมิด/หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานภาครัฐ
- เข้าร่วมโครงการ และสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ
ช่องทางการสื่อสาร :
- การเยี่ยมชม การประชุม การอบรม/สัมมนา
- การทวนสอบและการตรวจสอบมาตรฐาน
- จัดกิจกรรมร่วมกับภาครัฐ
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สม่ำเสมอ
- เข้าร่วมเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- ดำเนินงานด้านภาษีตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- ร่วมมือและให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับประเทศ
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ไม่มีกรณีการละเมิด/หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานภาครัฐ
- เข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ความคาดหวัง
- ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
- การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย, คุณภาพ, สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
- การมีแผนระยะยาว ความสามารถในการแข่งขัน การขยายตลาดและการลงทุนในอนาคต
- การสร้างมูลค่าเพิ่มและผลตอบแทนที่ยั่งยืน
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ไม่มีกรณีการละเมิด/หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญา
ช่องทางการสื่อสาร :
- การประชุมกรรมการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
- เว็บไซต์
- แบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
- การลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- พัฒนาโครงการที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูงและยั่งยืน เช่น การขยายตลาดพลังงานทดแทนในประเทศและต่างประเทศ หรือการลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด ที่มีผลตอบแทนทางการเงินที่ดี
- จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุม ทั้งในด้านการเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย และความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ เช่น การลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำและ การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ไม่มีกรณีการละเมิด/หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญา
ความคาดหวัง
- การส่งเสริมการมีอาชีพ รายได้ที่มั่นคง และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
- การมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน หรือ โครงการที่ส่งผลเชิงบวกทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน
- การสื่อสารข้อมูล/แผนการดำเนินงานล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าดำเนินการในพื้นที่ชุมชน
- การสนับสนุน และจัดสรรกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชน
- การสนับสนุนองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์และเปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน
- การสนับสนุน และสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับคนในชุมชน และสังคม
- การดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน
เป้าหมายและช่องทางการสื่อสาร
เป้าหมาย
- ร้อยละความพึงพอใจของชุมชนต่อการดำเนินงานของบริษัทไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.00
- ไม่มีข้อร้องเรียนจากสังคมและชุมชน
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ลดลงจากปีก่อนหน้า
ช่องทางการสื่อสาร :
- การลงพื้นที่พูดคุย/เยี่ยมชุมชน
- ช่องทางการสื่อสาร และรับข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็น
การตอบสนองต่อความคาดหวังที่สำคัญ
แนวทางการตอบสนอง :
- ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น เสนอแนะ ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนรอบสถานประกอบการเพื่อใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัท
- จัดสรรงบประมาณในการบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
- ดำเนินโครงการแหล่งเรียนรู้โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน โดยเฉพาะด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในชุมชน
- สนับสนุนกิจกรรมต่างๆร่วมกับชุมชนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนผ่านกิจกรรมที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น
- ส่งเสริมการจ้างงานในชุมชนและการสร้างธุรกิจในพื้นที่นั้นๆเพื่อลดปัญหาการว่างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนในระดับท้องถิ่นและสังคม
- ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั่วทั้งองค์กร
- พัฒนาโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน รวมถึง กลุ่มเปราะบาง
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ความพึงพอใจของชุมชนต่อการดำเนินงานของบริษัท ร้อยละ 84.31
- ไม่มีข้อร้องเรียนจากสังคมและชุมชน
- ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรรวม 3 ขอบเขต 28,741 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 รวม 3,189 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 30.39