บริษัทมีเจตนารมณ์ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจโลก นโยบายทางภาษี ความมั่นคงด้านทรัพยากร ตลอดจนภัยธรรมชาติ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทดําเนินธุรกิจภายใต้หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตามโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการของบริษัท และได้จัดทําและประกาศใช้ “นโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดี”

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
บริษัทได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ประจำปี 2566 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ให้เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” (Excellent CG Scoring) โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 111 และคะแนนรายหมวดทุกหมวดอยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” ติดต่อกันเป็นปีที่ 7

การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ จึงจัดทำและประกาศนโยบายเรื่องต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทุจริตคอร์รัปชันทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้บริษัทยังได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565
จำนวนพนักงานที่ตอบรับนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
100%
จำนวนพนักงานใหม่ที่เข้ารับการปฐมนิเทศหลักสูตรเกี่ยวกับ การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
100%
ผลคะแนนการทดสอบความรู้การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน 91%
ไม่มี

กรณีข้อร้องเรียนการทุจริตและคอร์รัปชัน ซึ่งปราศจากข้อร้องเรียนเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน

เชิญชวนคู่ค้าเข้าร่วมเครือข่ายการต่อต้านการทุจริต มีคู่ค้าหลัก (Critical Supplier Tier 1) ตอบรับและเข้าร่วมการประเมินผลการดำเนินงานตามจรรยาบรรณธุรกิจคู่ค้าทั้งสิ้น
106 ราย คิดเป็นสัดส่วน 100%

การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตเป็นประเด็นสำคัญที่บริษัทให้ความสำคัญ จึงจัดทำนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และเพิ่มความสามารถในการปรับตัวภายใต้ความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รวมถึงวิกฤตการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ห่วงโซ่อุปทาน ความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด อาชญากรรมไซเบอร์ และความตึงเครียดทางการเมือง ตลอดจนความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ทั้งทางบวกและทางลบ โดยบริษัทได้ดำเนินการประเมินและทบทวนประเด็นความเสี่ยงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐานของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) Framework เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าในระยะยาวอย่างยั่งยืนร่วม จึงได้จัดทำจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า และดำเนินการประเมินความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า โดยพิจารณาความเสี่ยงครอบคลุมประเด็นด้าน ESG เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมั่นคงซึ่งมีรายละเอียดและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565
คู่ค้ารายใหม่ 32 ราย

100%

ได้รับการประเมินคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ครอบคลุมความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

106 ราย
คู่ค้ารายสำคัญที่เป็นคู่ค้าหลัก (Tier 1) และมีผลกระทบโดยตรงต่อบริษัท
เข้าร่วมการประเมินผลการดำเนินงานตามจรรยาบรรณคู่ค้า
100%
ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
100%

การบริหารจัดการด้านภาษี

บริษัทบริหารจัดการภาษี ด้วยความโปร่งใสและตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษีเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยในปัจจุบันบริษัทได้ปรับปรุงมาตรการและระเบียบปฏิบัติให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของสากล และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรทางบัญชีและพนักงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในข้อกำหนด และหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานทางการเงิน และการวางแผนภาษี เพื่อให้สามารถปฏิบัติและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับกิจกรรมขององค์กร ซึ่งช่วยให้ชำระภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามหลักกฎหมาย ลดความเสี่ยงค่าปรับเงินเพิ่ม ลดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี วางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันปัญหาทางภาษีอากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทางบริษัทได้จัดหลักสูตรอบรมเพิ่มความรู้ให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบถึงวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านภาษีอากร และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล โดยการจัดอบรมให้ความรู้พนักงานอย่างต่อเนื่องทุกปี